你好,这是洛奇。

    ปัญหาสุขภาพของคนออฟฟิศ และการเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพ

    อัพเดตล่าสุด 24/08/2022

            เชื่อว่าคนที่ต้องทำงานประจำ เป็นมนุษย์เงินเดือนหรือทำงานในออฟฟิศการนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้รู้สึกปวดเมื่อยล้าและมีอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งทำงานนาน ๆและเป็นการนั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือเลือกโต๊ะทำงาน  เก้าอี้ทำงาน ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระปัญหาสุขภาพของคนทำงานออฟฟิศที่เกิดจากปัญหาเหล่านี้แก้ไขไม่ได้ยากเพราะบทความนี้เรามีเก้าอี้ทำงานสุขภาพมาแนะนำครับ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

            ออฟฟิศซินโดรม คือโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดสาเหตุของอาการปวดมาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขนหรือข้อมือ โดยความรุนแรงของโรคอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและยากต่อการรักษาได้

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรม

            การทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน หรือทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงและกล้ามเนื้ออักเสบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมส่วนปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้นอกจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถแล้วยังเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากเลือกเก้าอี้หรือโต๊ะทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ ปัจจุบันจึงมีเก้าอี้ทำงานสุขภาพผลิตออกมาให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    อาการบ่งบอกปัญหาสุขภาพของคนทำงานออฟฟิศ

             ออฟฟิศซินโดรม อาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากการนั่งทำงานโดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถและพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศแต่ส่วนหนึ่งมักไม่ทราบว่าเป็นอาการของออฟฟิศซินโดรมและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเลือกโต๊ะทำงานหรือเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพมาใช้ซึ่งอาการที่บ่งบอกปัญหาสุขภาพ สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

            1. มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน

            2. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ และปวดบริเวณสะบัก

            3. อาจมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เนื่องมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

            4. ปวดหลังเรื้อรังจากการนั่งหลังค้อม หรือนั่งไม่ถูกสุขลักษณะ และอาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อยเกร็งอยู่ตลอด

            5. มีอาการปวดตึงที่ขา หรืออาการชา ที่เกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    วิธีแก้ปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม

             1. การแก้ปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระและเลือกใช้เก้าอี้ทำงานสุขภาพ แทนเก้าอี้นั่งทำงานทั่ว ๆ ไป

             2. การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด

             3. หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานนาน ๆ ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และลุกเดินเป็นระยะ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

             4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ

             5. การนวดแผนไทย

             6. การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม

    การเลือกโต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงานสุขภาพ

             สำหรับการทำงานในออฟฟิศ หรือคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่นการขายสินค้าออนไลน์ การทำงานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลทำให้การลุกเดินเพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทำได้ไม่บ่อยนัก หากต้องนั่งทำงานคนเดียวการเลือกโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ และเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพก็คือแนวทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจากโรคออฟฟิศซินโดรม ได้อย่างเห็นผลสำหรับการเลือกโต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงานสุขภาพ ทำได้ ดังนี้

    1. เลือกโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระ ซึ่งพิจารณาได้จากองค์ประกอบต่อไปนี้

           - หลักการเลือกโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระของเรา ก็คือเมื่อนั่งแล้วระดับความสูงของผู้ใช้งานมีความเหมาะสม หมายถึงไหล่จะไม่ยักขึ้นตลอดเวลา ผ่อนไหล่สบายๆ

           - ความสูงของโต๊ะควรอยู่ในระดับ 70 – 90 เซนติเมตร

           - หากเป็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ ความกว้างควรกว้างประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร คือประมาณ 1 ช่วงแขนของเราที่แตะขอบหน้าจอมอนิเตอร์ได้

    2. เลือกจากคุณสมบัติของเก้าอี้นั่งทำงาน นอกการเลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะกับสรีระของผู้ใช้งานแล้ว

             เก้าอี้นั่งทำงานก็เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่ง ซึ่งพิจารณาได้จากองค์ประกอบต่อไปนี้

             - เลือกเก้าอี้นั่งทำงานโดยพิจารณาเลือกจากเบาะที่นั่งแล้วไม่นุ่มหรือนั่งแล้วไม่เป็นแอ่ง เพราะช่วยให้นั่งทำงานสบายลดปัญหาเรื่องอาการปวดหลังไปได้

             - เลือกเก้าอี้ทำงานที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสรีระรูปร่างของผู้ใช้งาน

             - เลือกจากวัสดุของโต๊ะทำงานหรือเก้าอี้นั่งทำงาน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่ทำจากวัสดุหลากหลายชนิด เช่น โต๊ะไม้ โต๊ะเหล็ก หรือผสมผสานกับวัสดุอื่น ๆ อย่างเช่น โต๊ะไม้ขาเหล็กโต๊ะทำงานกระจก ซึ่งนอกจากให้ความสวยงาม มีความคงทนที่แตกต่างกันแล้วยังให้อารมณ์ความรู้สึกในการนั่งทำงานที่แตกต่างกันด้วย

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    3. เลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพ

             เก้าอี้ทำงานสุขภาพ หมายถึง เก้าอี้นั่งทำงานที่ใช้เทคโนโลยีในการออกแบบพนักพิงของเก้าอี้ตามหลักสรีระศาสตร์ ให้มีการโค้งรับเข้ากับกระดูกสันหลังของผู้นั่ง เป็นเก้าอี้ทำงานสุขภาพที่ช่วยป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม คุณสมบัติของเก้าอี้เพื่อสุขภาพออกแบบให้สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้นั่งเป็นเวลานานไม่รู้สึกร้อนหลัง จึงทำให้นั่งสบาย และ ไม่เสียสมาธิเวลาทำงาน

              ปัญหาสุขภาพของคนทำงานประจำหรือคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆแม้จะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการลุกเดินบ่อย ๆเป็นการปรับเปลี่ยนอิริยาบถทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และเพื่อป้องกันปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรมเพียงเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพและเลือกโต๊ะทำงานที่ได้มาตรฐานเหมาะกับสรีระร่างกายก็สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจากการนั่งทำงานนาน ๆ ได้แล้ว

    บทความโดย Rocky อยากให้คนไทยได้อ่านในสิ่งดีๆ