เคล็ดลับเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์พร้อมเก้าอี้ และท่านั่งที่ถูกวิธี
อัพเดตล่าสุด 19/07/2022
คอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์สำนักงานที่สำคัญและจำเป็นและยังเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนในทุก ๆ ด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะหรือ PC และคอมพิวเตอร์โน้ตบุคอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ก็คือ โต๊ะคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายรุ่นและหลายรูปแบบ แต่ควรเลือกอย่างไร บทความนี้มีวิธีเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์การเลือก เก้าอี้ทำงาน ไม่ปวดหลัง และท่านั่งที่ถูกต้อง มาแนะนำครับ
ภาพประกอบจาก pinteres
วิธีเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์
สำหรับการเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์ ทั้งการใช้งานอยู่ที่บ้าน ใช้ในออฟฟิศหรือสำนักงานมีความสำคัญและจำเป็น เนื่องจากโต๊ะคอมพิวเตอร์สามารถจัดวางคอมพิวเตอร์และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่วนการเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดและส่งผลให้การนั่งเก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลังพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้
ภาพประกอบจาก pinteres
1. เลือกจากวัสดุ
โต๊ะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุไม้หลายชนิด คุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป เช่น จากแผ่นใยไม้อัดและ chipboard และทำจากไม้เนื้อแข็ง ขาเหล็กวิธีเลือกหากใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวันควรเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์ทำจากไม้เนื้อแข็งเนื่องจากคงทนและสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากกว่า โต๊ะคอมพิวเตอร์จากแผ่นใยไม้อัด
2. รูปแบบการทำงานและขนาดพื้นที่ห้อง
การใช้งานคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การทำงานคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลการติดต่อสื่อสาร หรือการโต้ตอบเพียงอย่างเดียว และการทำงานคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับงานเอกสารซึ่งรูปแบบของโต๊ะทำงานมีหลายขนาดนอกจากเลือกให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานแล้วยังขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ห้องทำงานอีกด้วย
รูปแบบโต๊ะคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
- โต๊ะทำงานรูปตัว L เหมาะสำหรับใช้เป็นโต๊ะทำงานและโต๊ะคอมพิวเตอร์ไปพร้อม ๆ กันได้ข้อดีของโต๊ะทำงานรูปแบบนี้ คือสามารถจัดวางไว้ที่มุมห้อง กลางห้องหรือวางติดผนังห้องได้
- โต๊ะทำงานรูปตัวยู เป็นโต๊ะทำงานและโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ หรือต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานควบคู่ไปกับงานเอกสาร
- โต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีการออกแบบให้เหมาะสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ขนาดโต๊ะก็กะทัดรัด ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้สอยมีถาดวางแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่เลื่อนเก็บเข้าไปใต้โต๊ะหลังจากใช้งาน ทำให้ดูเรียบร้อยบางรุ่นยังออกแบบให้มีลิ้นชักสำหรับจัดเก็บเอกสารหรืออุปกรณ์สำนักงานได้อีกด้วย
3. เลือกจากความสะดวกในการใช้งาน
การใช้งานคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบและหลายลักษณะ เช่น งานคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบของสถาปนิกและนักออกแบบที่ต้องการพื้นที่โต๊ะแบบกว้างหรือมีดีไซน์ที่เหมาะกับการทำงานนั้น ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่วนใหญ่เน้นการเลือกเก้าเก้าสุขภาพคือเป็นเก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง
ภาพประกอบจาก pinteres
วิธีนั่งทำงานที่ถูกต้อง
1. การนั่งให้สายตาอยู่ในระดับการมองหน้าจอ หากความสูงของโต๊ะคอมพิวเตอร์ไม่ได้มาตรฐานอาจจะต้องหาวัสดุรองหน้าจอให้สูงขึ้น หรือเสริมเบาะรองนั่ง หรือใช้เก้าอี้แบบที่ปรับระดับความสูงส่วนใหญ่เป็นเก้าอี้สุขภาพ เก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง
2. นั่งหลังตรง โดยให้หลังแนบกับพนักพิง ขณะทำงานไม่โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อก้มมองจอ
3. ก้นนั่งให้ลึก หากฐานนั่งเก้าอี้กว้างมาก ให้หาหมอนมาหนุนรับส่วนโค้งบริเวณหลังส่วนล่างป้องกันการนั่งหลังงอ ที่เป็นสาเหตุทำให้ปวดหลัง
4. การวางแขน บนพนักวางแขน ลักษณะการงอของข้อศอกประมาณ 90 องศา
5. การวางข้อมือหากใช้คีย์บอร์ด ควรมีหมอนหรือวัสดุยางรองข้อมือ
6. ขณะนั่งทำงาน ส่วนของข้อมือกับข้อศอกอยู่ในแนวเส้นตรง ทำมุม 90 องศากับไหล่ เพื่อผ่อน
คลายหัวไหล่ ช่วยให้ไหล่ไม่ตก
ข้อควรระวัง ในการนั่งทำงาน
การนั่งทำงานของคนที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานาน ๆการเลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์หรือโต๊ะทำงานที่เหมาะสม ช่วยป้องกันอาการปวดเอว ปวดหลังที่เป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว เก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง วิธีการนั่งทำงานที่ถูกต้องและข้อควรระวังในการนั่งทำงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจากการนั่งทำงานนาน ๆ ได้ เช่น
- หลีกเลี่ยงการนั่งตัวตรงในท่าเกร็งอยู่ตลอดเวลา ควรนั่งตัวตรงแบบสบายๆ ผ่อนคลายตามธรรมชาติ
- การนั่งเบาะไม่เต็มก้น หลังไม่พิงเบาะ เป็นสาเหตุทำให้หลังค่อม และยังทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น เพราะก้นรับรองน้ำหนักที่ได้ไม่เต็มที่
- การนั่งหลังค่อม เพราะการนั่งหลังค่อมจะทำให้กระดูกสันหลังงอ หากอยู่ท่าเดิมไปนาน ๆ โดยไม่ขยับเลย จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดอาการคั่งของกรดแลคติก (Lactic Acid)จนมีอาการเมื่อยล้าตลอดเวลา
- การนั่งไขว่ห้าง หากเราลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เลือดบริเวณขาจะไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้รู้สึกเมื่อยล้า
ภาพประกอบจาก pinteres
การเลือกโต๊ะทำงาน เลือกโต๊ะคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ท่านั่งที่ถูกต้อง เลือกใช้เก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพของคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะทำงานเป็นประจำนอกจากท่านั่งที่ถูกต้อง ข้อควรระวังในการนั่งที่อาจส่งผลต่อสุขภาพก็ควรหลีกเลี่ยงแม้จะมีเก้าอี้ทำงานไม่ปวดหลัง เก้าอี้สุขภาพให้เลือกใช้แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจนเกิดเป็นความเคยชินก็จะช่วยป้องกันปัญหาปวดเอว ปวดหลังจากการนั่งทำงานได้ดีกว่าการดูแลรักษา