Rocky Furniture, professional office furniture manufacturer for 30 years

    วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม และการเลือกโต๊ะทำงาน

    อัพเดตล่าสุด 02/05/2022

               เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับ โต๊ะ เป็นเวลานาน ๆเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือบางคนอาจมีอาการรุนแรงมากว่านั้น เช่นอาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง แต่อาจไม่ทราบว่าเป็นอาการของโรคออฟฟิศซีนโดรมซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานนาน ๆ หรือโต๊ะสำนักงานไม่เหมาะกับสรีระและรูปร่างเพื่อป้องกันอาการของโรค บทความนี้มีวิธีป้องกันโรคออฟฟิศซีนโดรม และการเลือกโต๊ะทำงาน มาแนะนำ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    โรคออฟฟิศซินโดรม และสาเหตุของโรค

             โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่นการนั่งทำงานที่โต๊ะสำนักงานต่อเนื่องโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถ จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

              อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และ หลังแม้บางคนอาจมีอาการปวดไม่มาก และมักเกิดขึ้นเมื่อนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะสำนักงานเป็นเวลานาน ๆโดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคราญต่อการใช้ชีวิตประจำวันและในขณะปฏิบัติงาน สำหรับวิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ทำได้ ดังนี้

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

            1.เปลี่ยนท่าทางอิริยาบถเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    การนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะสำนักงานนาน ๆ คือสาเหตุสำคัญของโรคนี้เมื่อต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรลุกเดินเพื่อปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากการสัมผัสบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

            2.เลือกเฟอร์นิเจอร์สำนักงานเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    เลือกโต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย หรือเลือกโต๊ะสำนักงานประเภทโต๊ะทำงานปรับระดับได้ทำให้สะดวกต่อการใช้งานเพราะสามารถปรับระดับให้เหมาะกับสรีระของแต่ละบุคคลได้

            3.ยืดเส้นสายกล้ามเนื่อเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    พยายามปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทุก ๆ 20 นาที เพื่อเป็นการยืดเส้นยืดสาย อาจลุกขึ้นมาเดินบ้างนอกจากเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยังทำให้สมองได้พักผ่อนและรู้สึกผ่อนคลายช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            4.จัดระเบียบท่านั่งเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    ขณะนั่งทำงานควรให้หลังพิงกับพนักเก้าอี้ เพื่อให้พนักเก้าอี้ช่วยรองรับน้ำหนัก หรืออาจใช้หมอนอิงมาพิงหลัง ลักษณะการนั่งทำงาน ควรปรับวางแขนให้พอดีขนานกับโต๊ะทำงาน ไม่ให้ไหล่หรือข้อมือเกร็งไม่ยกไหล่

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

            5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยยืดและคลายกล้ามเนื้อ ช่วยคลายความเครียด และสามารถลดความเสี่ยงการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

           6.ลดการเพ่งหน้าจอคอมนานๆเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    ในภาระที่ร่างการต้องการพักผ่อน สายตาก็เช่นกัน ควรหากิจกรรมในการลดการใช้สายตาอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆ ควรพักสายตาทุก 1 ชัวโมง เพราะการเพ่งสายตาเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื่อตาเมื่อยล้าและปวดศรีษะได้

           7.จัดสภาพแวดล้อมสำนักงานเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    ควรจัดออฟฟิตหรือสำนักงานไม่แออัดหรือแน่นเกินไป มีอากาศถ่ายเททีสะดวก แสงไฟควรมีความสว่างที่พอดี เพราะจะช่วยถนอมสายตา หลีกเลี่ยงแสงจากภายนอกเข้ามากระทบทำให้เกิดแสงสะท้อนเข้าตา

           8 พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันออฟฟิตซินโดรม

    พาเวลาเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายเมื่อยล้าหรือตอนพักเที่ยงควรงีบแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ จะมีประโยชน์ต่อร่ายกายมาก

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    วิธีเลือกโต๊ะทำงาน โต๊ะสำนักงาน

              โต๊ะสำนักงาน และการเลือกโต๊ะพร้อมเก้าอี้สำหรับการนั่งทำงานมีความสำคัญอย่างมากเพราะนอกจากเรื่องของปัญหาสุขภาพที่ควรเลือกโต๊ะทำงาน ปรับระดับได้เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนาน ๆ แล้วโต๊ะทำงานยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ช่วยตกแต่งทำให้สำนักงานมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นรวมไปถึงการเลือกโต๊ะสำนักงานให้เหมาะกับประเภทของงานยังส่งผลให้การทำงานนั้น ๆมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

             1. เลือกจากความกว้างของโต๊ะทำงาน หากเป็นการทำงานที่ต้องมีเอกสารหรือเครื่องมืออื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ควรเลือกโต๊ะทำงานที่มีความกว้างเพื่อให้สะดวกต่อการทำงานและการจัดวางสิ่งของที่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการทำงาน

             2. เลือกให้เหมาะกับผู้ใช้งาน โต๊ะทำงานนอกจากมีหลากหลายขนาด หลายรูปแบบ และทำจากวัสดุหลายชนิดแล้ว ยังแบ่งตามประเภทหรือลักษณะการใช้งาน เช่น โต๊ะทำงานสำหรับผู้บริหารหรือพนักงาน และโต๊ะทำงานที่เหมาะสำหรับหัวหน้าแผนก ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานแตกต่างกันหากเป็นโต๊ะทำงานของผู้บริหาร รูปแบบและการดีไซน์อาจเน้นที่ความหรูหราและมีราคาต่างจากโต๊ะทำงานของหัวหน้างานและพนักงานซึ่งอาจเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก

             3. เลือกโต๊ะทำงานให้เหมาะกับขนาดพื้นที่ใช้สอย ขนาดของห้องทำงานมีส่วนสำคัญต่อการเลือกโต๊ะทำงาน หากมีพื้นที่จำกัดแล้วเลือกโต๊ะใหญ่เกินไปอาจทำให้ห้องคับแคบ และยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในที่ทำงานด้วย

    บทความโดย Rocky อยากให้คนไทยได้อ่านในสิ่งดีๆ