Rocky Furniture เฟอร์นิเจอร์คือความชำนาญของเรา

    เคล็ดลับ เลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพ นั่งทำงานไม่ปวดหลัง

    อัพเดตล่าสุด 01/08/2022

            โต๊ะทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ไม่เพียงช่วยให้ห้องทำงานหรือสำนักงานมีความสมบูรณ์แบบยังเป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดีแต่การเลือกโต๊ะทำงานหรือเก้าอี้สำนักงานก็ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีฟังชั่นครบสมบูรณ์นั่งทำงานแล้วไม่ปวดหลังหรือมีปัญหาสุขภาพตามมา โดยการเลือกโต๊ะทำงานที่ได้มาตรฐานและเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    เก้าอี้ทำงานสุขภาพ คืออะไร

            เก้าอี้ทำงานสุขภาพเป็นเก้าอี้ที่ถูกออกแบบให้เอื้ออำนวยต่อการนั่งทำงานหรือออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์โดยให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพที่อาจเกิดจากการนั่งทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะคำนึงถึงการออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะร่างกายของผู้ใช้งานที่มีความแตกต่างกันเพื่อลดปัญหาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ ความแตกต่างระหว่างเก้าอี้นั่งทำงานสุขภาพ กับเก้านั่งทำงานทั่วไปโดยทั่วไปเก้าอี้นั่งทำงานที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แรงกดมีการรวมตัวเป็นจุดหรือรวมตัวกันอยู่ที่กึ่งกลางทำให้เวลานั่งแล้วเป็นแอ่งซึ่งเป็นสาเหตุของการเมื่อยล้าหรือปวดกล้ามเนื้อส่วนเก้าอี้ทำงานสุขภาพ จะมีการออกแบบให้ช่วยกระจายแรงกดจากการนั่งเพื่อช่วยลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    ประโยชน์ของเก้าอี้นั่งทำงานสุขภาพ

            1. ช่วยลดการปวดเมื่อยของหลัง และช่วงเอวในขณะนั่ง เนื่องจากเก้าอี้สุขภาพถูกออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ จึงช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะนั่งได้ดี

            2. เก้าอี้ทำงานสุขภาพ ออกแบบให้สามารถปรับระดับเพื่อตอบสนองผู้ใช้ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในขณะนั่งทำงานได้เป็นอย่างดี

            3. ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะนั่งทำงานได้ดี ป้องกันอาการรู้สึกไม่สบายจากการนั่งและการกดทับที่เกิดขึ้นในร่างกาย

            4. เก้าอี้ทำงานสุขภาพ ออกแบบให้การปรับพนักพิงศีรษะขึ้น – ลงได้ยืดหยุ่นได้ดีและสามารถรองรับศีรษะได้ทุกองศ ช่วยลดการปวดเมื่อยของหลังในขณะนั่ง

            5. พนักวางแขนวัสดุ PU สามารถปรับระดับได้แบบ ทำให้การนั่งทำงานไม่เกร็งแขน เพราะสามารถปรับให้เหมาะกับสรีระของผู้ใช้งานแต่ละบุคคลได้

            6. ดีไซน์สวย เหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงาน นั่งทำงานสบายหมดกังวลหากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ

            7. เบาะนั่งทำจากฟองน้ำขึ้นรูปปรับได้ 4 ระดับ และ เบาะนั่งสามารถขยับเอนได้ตั้งแต่ 115-135 องศเมื่อรู้สึกเมื่อยล้าหรือต้องการพักสายตาจากเอกสารหรือพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถเอนเบาะนอนหลับพักได้

            8. พนักเก้าอี้ดันหลัง ออกแบบมาสำหรับรองรับสรีระของผู้ใช้งานแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี

            9. โครงสร้างของขาเก้าอี้ทำงานสุขภาพ ได้มาตรฐาน ล้อเก้าอี้เส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร ทำให้มีความแข็งแรง คงทน

           10. รับน้ำหนักได้มาก บางรุ่นสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 100 กิโลกรัม

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

    เก้าอี้นั่งทำงานสุขภาพ และท่านั่งที่ถูกต้อง

             ปัญหาสุขภาพของคนทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆจนทำให้รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ หลัง และบริเวณเอวหากปล่อยให้มีอาการเรื้อรังก็จะเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมได้การดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมนอกจากเลือกโต๊ะทำงานให้เหมาะกับสรีระและเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพที่ได้มาตรฐานแล้วยังต้องให้ความสำคัญกับการนั่งที่ถูกต้อง ดังนี้

    1. การนั่งให้สายตาต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

            กรณีการนั่งทำงานอยู่กับจอคอมพิวเตอร์ท่านั่งที่ถูกต้องตำแหน่งสายตาควรอยู่ในระดับเดียวกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำมุมประมาณ 10 องศาลักษณะการนั่งต้องไม่รู้สึกว่าต้องเงยหน้าขึ้นหรือก้มหน้าลงเมื่อมองหน้าจอคอมพิวเตอร์

    2. ลักษณะการนั่งที่ถูกต้อง

             การนั่งที่ถูกต้อง นั่งหลังตรงให้ตำแหน่งของแผ่นหลังแนบพอดีกับพนักพิง ลำตัวตั้งตรงและไม่โน้มตัวไปด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา ปล่อยไหลตามสบายไม่เกร็งหรือต้องยกไหล่ขึ้นเมื่อเขียนงานหรือใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์

    3. ตำแหน่งการวางแขนถูกต้อง

            การวางแขนในตำแหน่งที่ถูกต้อง คือการเก็บศอกทั้งสองข้างให้แนบชิดลำตัว โดยให้ส่วนของข้อมือกับข้อศอกอยู่ในแนวเส้นตรง ทำมุม 90 องศากับไหล่

    4. ตำแหน่งการวางข้อมือในการทำงาน

            ตำแหน่งที่ถูกต้องของการวางข้อมือ ทั้งการเขียนงานเอกสารหรือการใช้งานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์คือวางมือบนโต๊ะในระนาบเดียวบนโต๊ะ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด ไม่บิดข้อมือขึ้นหรือกดข้อมือต่ำลงจนเกินไป

    5. ตำแหน่งการวางขาและเท้า

            เก้าอี้ทำงานสุขภาพที่ได้มาตรฐาน จะส่งผลทำให้การวางขาและเท้าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย คือการวางเท้าให้ราบกับพื้นทั้ง 2 ข้าง ช่วงขาตั้งฉากกับพื้นโดยทิ้งน้ำหนักลงบนฝ่าเท้าทั้งสองข้างข้อควรระวังคือไม่ทิ้งน้ำหนักไว้ที่ส้นเท้า ตัวอย่างการนั่งเช่น นั่งเหยียดขาให้น้ำหนักอยู่ที่ส้นเท้า หรือ ท่านั่งเขย่งเท้า

     

    ภาพประกอบจาก pinteres

            สำหรับปัญหาสุขภาพของคนทำงาน หรือคนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ อาการปวดเมื่อย หรือปวดเกร็งกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถนอกจากการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม โดยจัดท่านั่งทำงานให้ถูกสุขลักษณะแล้วการเลือกเก้าอี้ทำงานสุขภาพจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตหรือจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานโดยตรงก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราได้เก้าอี้ทำงานสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

    บทความโดย Rocky อยากให้คนไทยได้อ่านในสิ่งดีๆ